ส.1 การสืบค้น

ชนิดของข้าวโพด (ที่มา:http://th.wikipedia.org/)

โดยทั่วไปข้าวโพดจัดออกเป็น 5 กลุ่ม คือ

  1. ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่ (Field Corn) ที่รู้จักในปัจจุบันเช่นข้าวโพดหัวบุ๋ม (DentCoorn)  และข้าวโพดหัวแข็ง  (FintCorn)  ซึ่งเป็นการเรียกตามลักษณะเมล็ด
  2. ข้าวโพดหัวบุ๋มหรือหัวบุบข้าวโพดชนิดนี้เมื่อเมล็ดแห้งตรงส่วนหัวบนสุดมีรอยบุ๋มลงซึ่งเป็นส่วนของแป้งสีขาวข้าวโพดชนิดนี้สำคัญมากนิยมปลูกกันมากในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะทางแถบคอร์นเบลท์สีของเมล็ดมีตั้งแต่ขาวจนถึงเหลืองเนื่องจากมีหลายสายพันธุ์มีโปรตีนน้อยกว่าพวกข้าวโพดหัวแข็ง   ข้าวโพดหัวแข็ง   ข้าวโพดพันธุ์นี้ส่วนขนสุดของเมล็ด
        มักมีสีเหลืองจัด  และเมื่อแห้งจะแข็งมาก  ในเมล็ดมีสารทำให้ข้าวโพดมีสีเหลืองจัด   เป็นสาร
        ให้สีที่ชื่อคริปโตแซนทีน (Cruptoxanthin) สารนี้เมื่อสัตว์ได้รับแล้ว สัตว์จะเปลี่ยนสารนี้ให้เป็น
        ไวตามินเอ  นอกจากนี้สารนี้ยังช่วยให้ไข่แดงมีสีแดงเข้มช่วยให้ไก่มีผิวหนังปากเนื้อและแข้งมี
        สีเหลืองเข้มขึ้น เป็นที่นิยมของตลาด
  1. ข้าวโพดหวาน (Sweet Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทานไม่มีการแปรรูป เมล็ด
        มักจะใสและเหี่ยวเมื่อแก่เต็มที่ เพราะมีน้ำตาลมาก ก่อนที่จะสุกจะมีรสหวานมากกว่าชนิดอื่น ๆ
        จึงเรียกข้าวโพดหวาน มีหลายสายพันธุ์
  1. ข้าวโพดคั่ว (Pop Corn) เป็นข้าวโพดที่คนใช้รับประทาน ไม่มีการแปรรูป
        เมล็ดค่อนข้างแข็ง สีดีและขนาดแตกต่างกัน สำหรับต่างประเทศ ถ้าเมล็ดมีลักษณะแหลม                         
        เรียกว่า ข้าวโพดข้าว (Rice Corn) ถ้าเมล็ดกลม เรียกว่า ข้าวโพดไข่มุก (Pearl Corn)
  1. ข้าวโพดแป้ง (Flour Corn) เมล็ดมีสีหลายชนิด เช่น ขาว (ขุ่น ๆ หรือปนเหลืองนิด ๆ) หรือสีน้ำเงินคล้ำหรือมีทั้งสีขาวและสีน้ำเงินคล้ำในฝักเดียวกัน     เนื่องจากกลายพันธุ์พวกที่มี
        เมล็ดสีคล้ำและพวกกลายพันธุ์เรียกว่าข้าวโพดอินเดียนแดง (Squaw Corn)หรือเรียกได้อีกว่า
        ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง (NativeCorn) พวกข้าวโพดสีคล้ำนี้จะมีไนอาซีนสูงกว่าข้าวโพดที่มี
        แป้งสีขาว
  1. ข้าวโพดเทียน (Waxy Corn)  ข้าวโพดที่คนใช้รับประทานจะมีแป้งที่มีลักษณะเฉพาะ
        คือนุ่มเหนียว  เพราะในเนื้อแป้งจะประกอบด้วย    แป้งพวกแอมมิโลเปคติน   (Amylopectin)
        ส่วนข้าวโพดอื่น ๆ มีแป้งแอมมิโลส  (Amylose)  ประกอบอยู่ด้วย    จึงทำให้แป้งค่อนข้างแข็ง
ข้าวโพดที่ใช้เลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยมีหลายพันธุ์ ที่นิยมปลูกในประเทศไทยได้แก่ พันธุ์กัวเตมาลา พียี 12 (Rep.1) กัวเตมาลา พีบี 12 (Rep.2) พีบี 5 ข้าวโพดเหนียว และโอเปค-2 มีเมล็ดตั้งแต่สีขาว สีเหลืองไปจนถึงสีแดง ขนาดของเมล็ดขึ้นอยู่กับพันธุ์ โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่าศูนย์กลางอยู่ในช่วง  0.5 - 0.8 ซม. ก่อนนำมาเลี้ยงสัตว์จึงต้องบดก่อน
เพื่อช่วยให้การย่อยและการผสมได้ผลดีขึ้น ที่บดแล้วจะมีขนาดประมาณ 1-8 มม.



ข้าวโพดหวาน
ที่มาของภาพ : http://www.bloggang.com/


อยู่ใน ตระกูล Gramineae ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับหญ้าหรือข้าว มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Zeamays Line var. rugasa หรือ saccharata ข้าวโพดหวานมีคุณประโยชน์มากมาย นอกจากจะใช้รับประทานเป็นผักสดแล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปได้หลาย รูปแบบ เช่น ข้าวโพดหวานบรรจุึกระป๋องทั้งฝัก หรือบรรจุกระป๋องเฉพาะเมล็ด ทำครีมข้าวโพดหวาน ข้าวโพดแช่แข็ง ซึ่งผลิตภัณฑ์ ต่างๆ เหล่านี้ สามารถส่งไปจำหน่ายยังตลาดต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน และกลุ่มประเทศในแถบยุโรป




บรรจุภัณฑ์แก้ว (ที่มา : http://www.btipackaging.com/faq.php)

การผลิตแก้วขบวนการผลิต
    การผลิตขวดแก้วมีขบวนการผลิตโดยเครื่องจักรที่ทันสมัยและควบคุมด้วยระบบอัตโนมัติการนำเศษแก้วกลับมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตทำให้บรรจุภัณฑ์แก้วได้รับการยอมรับว่าเป็นวัสดุ
ที่ช่วยลดปัญหาสภาพแวดล้อมและยังสนับสนุนการจัดการด้านอนุรักษ์พลังงานและทรัพยากร
อีกด้วย

การผลิตขวดแก้วนั้นต้องใช้วัตถุดิบหลายชนิด ได้แก่ ทราย โซดาแอช(สั่งจากต่างประเทศ)
หินปูน หินฟันม้า โดโลไมต์ และส่วนประกอบอื่นๆ แล้วแต่ชนิดของขวดแก้ว แต่สิ่งสำคัญที่จะขาดไม่ได้คือ เศษแก้ว ซึ่งเป็น ขวดแก้วใช้แล้วนำมาบดให้มีขนาดที่ต้องการ ขวดแก้วทุกชนิดที่ไม่ใช้จึงสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำขวดใหม่ได้ ผสมส่วนผสมต่างๆ
เข้ากันดีแล้วจะผ่านเข้าไปในเตาหลอม  โซดาแอชจะช่วยให้อุณหภูมิหลอมเหลวต่ำลง
เศษแก้วที่ใส่เข้าไปด้วยก็จะช่วยประหยัดพลังงาน  เมื่อหลอมเหลวเป็นเนื้อเดียวกันแล้ว
น้ำแก้วจะไหลลงเป็นเส้น แล้วถูกตัดเป็นก้อน เพื่อขึ้นรูปในแม่พิมพ์ด้วย การเป่า จากนั้นจะส่งผ่านไปยังตู้อบความร้อน เพื่อลดอุณหภูมิของขวดแก้ว อย่างช้าๆ

วัตถุดิบที่ใช้ ในการผลิตแก้ว

1. ทราย มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “ซิลิกา” จะต้องมีปริมาณของ SiO2 อย่างน้อย 99.5%
และมีปริมาณของ Fe2O3 น้อยกว่า 0.04%
2. โซดาแอช คือ Na2CO3 ในธรรมชาติอยู่ในรูปของ Na2CO3 , NaHCO3, 2H2O
3. หินปูน คือ CaO
4. หินฟันม้า เป็นสารที่ประกอบด้วย SiO2 และยังมีปริมาณ AI2O3 ถึงเกือบ 20%
5. หินโดโลไมต์ เป็นสารที่ประกอบด้วย CaO และ MgO
6. เศษแก้ว เป็นวัตถุดิบที่ช่วยประหยัดพลังงานในการหลอม
7. มีวัตถุดิบอื่นๆ ซึ่งช่วยในการหลอม การปรับแต่งสีของขวดแก้ว รวมทั้งปรับแต่งคุณสมบัติด้วย

คุณสมบัติของขวดแก้ว

1. มีความเป็นกลางและไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน เพื่อให้ผู้บริโภค
ได้รับความปลอดภัยสูง
2. มีความใส สามารถมองเห็นของที่บรรจุอยู่ภายในได้ ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค
3. เมื่อเปิดแล้วสามารถปิดกลับเพื่อใช้ใหม่ได้
4. ขวดแก้วยังสามารถใช้หมุนเวียนได้ มีความคงรูปเมื่อวางเรียงซ้อน จึงให้ความสะดวกในการขนส่ง
มีความคงทนถาวรไม่เสื่อมสภาพ ตลอดอายุของผลิตภัณฑ์ ทนความร้อนได้สูงมาก        และป้องกัน การซึมผ่านของก๊าซและไอน้ำได้

คุณสมบัติของฝาปิดขวดแก้ว

1. ฝาปิดต้องเข้ากันได้กับตัวสินค้าและบรรจุภัณฑ์ กล่าวคือ ไม่เกิดปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุ  และภาชนะบรรจุในระหว่างการเก็บรักษาและขนส่ง
2. ฝาปิดจะต้องป้องกันสินค้าจากความเสียหายที่เกิดจากปัจจัยภายนอกต่างๆ ได้   และจะต้องปิดผนึก ได้อย่างสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลาจนกว่าผลิตภัณฑ์ จะถูกบริโภค
3. ฝาปิดจะต้องสะดวกต่อการใช้งาน ง่ายต่อการปิดเปิดใหม่ จนกว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์หมด
4. ในบางกรณี จำเป็นต้องใช้ฝาชนิดที่ไม่สามารถเปิดได้ โดยปราศจากร่องรอยว่าได้ถูกเปิดแล้ว (tamper evident)
5. ผลิตภัณฑ์บางชนิด เช่น สารเคมี ยา ต้องเลือกใช้ฝาปิดประเภทที่เปิดปิดไม่ได้

ข้อดีของการใช้ขวดแก้วบรรจุอาหาร

1. มีความเป็นกลางและไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ กับผลิตภัณฑ์ที่บรรจุอยู่ภายใน เพื่อให้ผู้บริโภค
ได้รับความปลอดภัยสูง
2. มีความใส สามารถมองเห็นของที่บรรจุอยู่ภายในได้ ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริโภค
3. ผู้ผลิตสามารถทำการถนอมอาหารนั้นๆที่บรรจุ โดยการใช้ความร้อนได้
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...